โครงสร้างเขียนคอนเทนต์แบบนี้แหล่ะ ที่เขียนกี่ครั้งก็สำเร็จ

     โครงสร้างแบบเดิม  เกริ่นนำ > เนื้องเรื่อง > สรุป  ไม่ทำให้การเขียนคอนเทนต์ของคุณสำเร็จในปัจจุบันนี้ได้อีกต่อไป เนื่องจากมีสื่อออนไลน์ เข้ามาทำให้พฤติกรรมของคนในการเสพข้อมูลเปลี่ยนไป ทุกอย่างเหมือนจะเร่งรีบไปเสียหมด ทำให้สมาธิในการจดจ่อกับสื่อ บนหน้าจอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone , Tablet หรือแม้กระทั่ง Laptop  สั้นลง โดยมีการวิจัยว่า คนยุคดิจิทัลนี้มีสมาธิในการจดจ่อกับหน้าจอเพียงแค่ 3 – 4 วินาทีเท่านั้น  เหตุผลเนื่องมาจากปัจจุบันมีข้อมูล มากมายมหาศาลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต หากผู้เสพข้อมูลดูข้อมูลของคุณแล้ว ไม่สนใจ ก็จะไถจอเลื่อนไป และไม่กลับมาอีกเลย

 

      ดังนั้นโครงสร้างในการเขียนคอนเทนต์ต้องมีการกำหนดใหม่ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของคอนเทนต์ที่คุณเขียนนั้นเกิดความสนใจตั้งแต่แรกเห็น และอยากอ่านบรรทัดต่อไป นั่นแหล่ะถึงจะประสบความสำเร็จ คอนเทนต์ที่คุณเขียนจะไม่สูญเปล่า และสร้างผลลัพธ์ ตรงกับเป้าหมายการเขียนของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ก่อนอื่นให้คุณลืมโครงสร้าง ที่เก่าคร่ำครึ แบบเดิมคือ  เกริ่นนำ > เนื้องเรื่อง > สรุป ไปเลย และเริ่มโครงสร้างใหม่ตามลำดับแต่ล่ะข้อดังนี้

      1.  ให้เริ่มเขียนจากข้อสรุปก่อนเลย

            คุณอ่านไม่ผิดครับ เริ่มที่ข้อสรุปสำคัญของคอนเทนต์ก่อนเลย เกริ่นนำที่มีแต่น้ำไม่ต้องครับ  เขียนข้อสรุปไปเลยว่าให้ทำอย่างไร เหตุที่ต้องนำข้อสรุปขึ้นก่อนเลย เพื่อให้ผู้อ่านคอนเทนต์เกิดสะดุด เกิดความสนใจ อยากอ่านต่อในบรรทัดต่อไปเลย ก็ตามที่ผมบอกคุณไว้ในตอนต้น คือ คนในปัจจุบันนี้มีเวลาน้อย เร่งรีบไปหมด มีข้อมูลที่เป็นตัวเลือกมากมาย ฉะนั้นให้นำข้อสรุปขึ้นต้นเลย เจาะไปเลยให้ทำอะไร เปอร์เซ็นต์การอ่านคอนเทนต์บรรทัดต่อไป ของกลุ่มเป้าหมายของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

      2. ถ่ายทอดสื่อสาร ไอเดีย ที่เป็นแก่นของเรื่องให้ชัดเจน

           ไม่ต้องกังวลว่าถ้าถ่ายทอดไอเดียวไปยาวๆ แล้วไม่มีคนสนใจอ่าน จำไว้ครับว่า หากแก่นของเรื่อง แก่นของไอเดีย เป็นที่น่าสนใจอยู่ในความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยาวแค่ไหนเขาก็อ่าน เพราะกลุ่มเป้าหมายได้อ่านผ่านข้อแรก มาแล้ว ขั้นที่สอง นี้คุณก็สื่อสารไอเดียทั้งหมด ที่เป็นแก่นจริงๆ ไปเลยให้เต็มที่เอาแต่เนื้อๆ น่ะครับ น้ำอย่าเยอะ อย่าหาว่าผมไม่เตือน

      3. แบ่งเนื้อหาของเป็นย่อหน้า

           อย่างเขียนคอนเทนต์ โดยมีเนื้อหาติดกันเป็นพรืด มันไม่น่าสนใจครับ การจัดวางย่อหน้าให้เหมาะสม ทำให้คอนเทนต์น่าอ่าน น่าติดตาม ลดความน่าเบื่อ ลดการลายตาของผู้อ่าน เป็นการโน้มน้าวใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ย่อหน้าที่เหมาะสมในการเขียนคอนเทนต์ 1 คอนเทนต์ก็ ประมาณ 4 – 5 ย่อหน้าเหมาะสมแล้ว  อย่าเยอะไปกว่านี้ไม่เช่นนั้นคอนเทนต์ของคุณจะน่าเบื่อ ไม่น่าอ่าน ไม่มีคนอ่านคอนเทนต์โลกออนไลน์คนไหน ยอมอ่านข้อความซ้ำๆ นานๆ ต่อเนื่องกันหลายๆ ย่อหน้าหรอกครับ

      4. ยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจ และเห็นด้วยกับคุณ

           คนเขียนคอนเทนต์ที่พลาดในข้อนี้เสียเยอะครับ คือมีแต่บอก สื่อสาร ถ่ายทอดเนื้อหาสำคัญๆ แล้ว จบไปเลย ไม่มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพ โปรดจำไว้น่ะครับว่า ผู้เสพคอนเทนต์สนใจมาก หากจะมีกลุ่มอ้างอิง จากตัวอย่างสักตัวอย่างหนึ่งที่มายืนยันคอนเทนต์นั้น ว่าวิธีที่ปรากฎอยู่ในเนื้่อหาคอนเทนต์นั้นได้ผล และมีคนทำมาแล้ว ซึ่งจะเป็นการโน้มน้าวความสนใจของคอนเทนต์ บทความนั้นให้น่าสนใจ ดึดดูดใจมากขึ้นครับ ฉะนั้นคุณอย่าพลาดที่จะยกตัวอย่าง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความสำเร็จในวิธีการที่ปรากฎในคอนเทนต์ที่คุณเขียนด้วยครับ

       5. ให้นำเสนอสิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายทำ

            หลังจากที่คุณเขียนคอนเทนต์ตามวิธีที่ผมบอกตั้งแต่ข้อ 1 – 4 แล้ว ข้อสุดท้าย ให้บอกสิ่งที่คุณต้องการให้กลุ่มเป้าหมายที่เสพคอนเทนต์ของคุณได้ทำเช่น  “ให้ปฏิบัติตามนี้เป็นข้อๆ แล้วคุณจะสำเร็จ”  ” โปรดติดตามบทความจากเพจนี้ไปเรื่อยๆ น่ะครับ”  ” สนใจรายละเอียดสามารถติดต่อผ่าน…..ได้เลย”  เป็นต้น  หรือที่เราเรียกกันว่า Call to Action  คือสิ่งที่คุณต้องการให้เขาทำนั่นเอง อย่างลืมเด็ดขาดครับ คอนเทนต์ทุกคอนเทนต์  บทความทุกบทความ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนคอนเทนต์เพื่อขาย  เขียนคอนเทนต์เพื่อให้ความรู้ หรือด้วยเป้าหมายอื่นใดก็ตาม ควรปิดด้วย Call to Action เสมอ บันทึกไว้เป็นหลักประจำตัวคุณเลยครับ

 

 

Leave a Comment